Winnie The Pooh Bear Christmas Heart

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  30 เมษายน พศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ 

ในสัปดาห์นี้ ไม่มรการเรียนการสอน แต่วันนี้อาจารย์ให้มาสอบร้องเพลง
จากการจับฉลากขึ้นมา จับได้เพลงอะไรก็ร้องเพลงนั้น โดยมีคะแนนคือ
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องพร้อมให้เพื่อนร้องพร้อมกัน = 3 คะแนน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  23 เมษายน  พศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ 

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟู
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นนวทางในการจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความสามารถของความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลง
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน่อเนื่อง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
กำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
-น้องนุ่มช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของเด็ก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัด
- การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน

วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผน กลุ่มละ 5 คน




การประยุกต์ใช้

-  ใช้เป็นแผนการสอนกับเด็กพิเศษได้

-  ทำให้รู้ประวัติและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของเด็กได้


การประเมิน

อาจารย์: อาจารย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนแผนได้ทั่วถึงดีมาก อธิบายชัดเจน เข้าใจง่าย


ตนเอง: ตั้งใจฟังแต่มีแอบคุยบางครั้งและช่วยเพื่อนในกลุ่มเขียนแผน
     
เพื่อน: คุยกันบ้างแต่ก็มีบางช่วงที่ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันแสดงความคิดเห็นดี มีการถามตอบ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  16 เมษายน  พศ. 2558






หมายเหตุ :   เนื่องจากวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ให้ไปศึกษาด้วยตนเองนอกห้องเรียน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  9 เมษายน พศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ 


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ                                                                                                                         - มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก   
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

























4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
เด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีโดยการเลียนแบบเพื่อน พ่อแม่ และครู

การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม


บรรยากาศในชั้นเรียน



การประยุกต์ใช้

-  สามารถนำไปใช้กับเด็กพิเศษและใช้เป็นแนวประกอบการเรียนการสอนให้แก่เด็กพิเศษได้

-  สามารถใช้เป็นแนวในการควบคุมชั้นเรียนได้

การประเมิน

อาจารย์: อาจารย์อธิบายได้เข้าใจดีมาก มีการยกตัวอย่างชัดเจนดีมาก และอาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เด็กได้ถามตอบดีค่ะ


ตนเอง: ตั้งใจฟังแต่มีแอบคุยบางครั้ง
     
เพื่อน: คุยกันบ้างแต่ก็มีบางช่วงที่ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมกันแสดงความคิดเห็นดี มีการถามตอบ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  2 เมษายน  พศ. 2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  26 มีนาคม  พศ. 2558





วันนี้เป็นการสอบวัดความรู้ที่เรียนมาตั้งแต่ต้นเทอม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

                                              การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


         วันพฤหัสบดีที่  19 มีนาคม  พศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ 

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
- เด็กต้องมีอิสระ ทำได้ด้วยตนเอง
-การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
-การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง

 - อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง 
 - เชื่อมั่นในตนเอง
 - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
 ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
การกินอาหาร
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
ทั่วไป
- บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
- ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
- แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
(เช่นการเข้าส้วม)
1.) เข้าไปในห้องส้วม 

 2.) ดึงกางเกงลงมา 
 3.) ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.) ปัสสาวะหรืออุจจาระ 
 5.) ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
 6.) ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.) กดชักโครกหรือตักน้ำราด 
 8.) ดึงกางเกงขึ้น 
 9.) ล้างมือ 
 10.) เช็ดมือ
11.) เดินออกจากห้องส้วมการ

กิจกรรมในห้องเรียน


1. แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น
2. แจกสีเทียนตามความต้องการของแต่ละคน
3. ให้ระบายสีให้เป็นวงกลมลงบนกระดาษตามอิสระ
4. จากนั้นตั้ดกระดาษให้เป็นวงกลมตามสีที่เราระบาย
5. อาจารย์บอกลักษณะนิสัยของแต่ละคนตามผลงาน
6. อาจารย์เราต้นไม้มาแปะไว้หน้ากระดานให้ทุกคนนำผลงานของตัวเองไปแปะเป็นใบไม้ตสมจินตนาการของตัวเอง

ผลงานของกลุ่มฉัน





บรรยากาศในชั้นเรียน





การประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปจัดเป็นกิจกรรมบำบัดให้แก่เด็กได้

- สามารถนำไปปรับใช้กับวิชาศิลปะได้

- กิจกรรมนี้ช่วยให้เด็กเกิดการผ่อนคลาย สนุกสนาน

การประเมิน

อาจารย์: อาจารย์หากิจกรรมที่ผ่อนคลายดีและสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ อธิบายรายละเอีดและเนื้อหาที่เรียนชัดเจนดีค่ะ มีการยกตัวอย่างและทำให้เรารู้จักนิสัยของตัวเองมากขึ้น

ตนเอง: ตั้งใจฟังและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ 
     
เพื่อน: คุยกันบ้างแต่ตั้งใจทำงานและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม